การลูกเสือ



การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (อังกฤษ: Lord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี (อังกฤษ: Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ


การลูกเสือในประเทศไทยดูบทความหลักที่ คณะลูกเสือแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”
กิจการลูกเสือในประเทศไทยยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ

วัตถุประสงค์ หลักการสำคัญ และวิธีการของลูกเสือ
การลูกเสือ เป็นขบวนการทางการศึกษาสำหรับเยาวชน ที่มีวัตถุประสงค์จะสร้างบุคลิกภาพ และพัฒนาการทางสังคมให้กับเยาวชนเพื่อให้เป็นพลเมืองดีของประเทศ โดยใช้วิธีการของลูกเสือ ยึดมั่นในกฎและตำปฏิญาณ (Scout Promise and Laws) การเรียนรู้โดยการกระทำ (Learning by Doing) เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor Activities) การใช้ระบบหมู่ (Patrol System) และความก้าวหน้าของบุคคล โดยใช้หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ (Proficiency Badges) การลูกเสือ เป็นการอาสาสมัครทำงานให้การศึกษาพัฒนาเยาวชนโดยทั่วไป ไม่มีการแบ่งแยกกีดกันในเรื่องเชื้อชาติ ผิวพรรณ วรรณะ ลัทธิทางศาสนาใดๆ และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพล หรือเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยยึดปฏิบัติตามอุดมการณ์ของผู้ให้กำเนิดลูกเสือโลกอย่างมั่นคง วงการศึกษาทั่วโลกถือว่าการลูกเสือ เป็นขบวนการที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนนอกระบบโรงเรียน (Non-formal Education Movement) ภายใต้พื้นฐาน ดังนี้

1. มีหน้าที่ต่อศาสนาที่ตนเคารพนับถือ
2. มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง
3. มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง
4. เข้าร่วมในการพัฒนาสังคมด้วยการยกย่องและเคารพในเกียรติของบุคคลอื่น
5. ช่วยเสริมสร้างสันติภาพความเข้าใจอันดี เพื่อความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วโลก

ที่มา :
1. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD
2. http://www.scoutthailand.org/scout.page/?id=id.05

Comments